กฏหมายเกี่ยว ลิขสิทธิ์ที่คุณควรรู้

การทำสิ่งใดๆ นั้นย่อมมีผลตามาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีและไม่ดีก็ตาม ดังนั้นการทำในสิ่งที่ถูกต้องและไม่ผิดแปลกไปจากกฏส่วนรวมที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่นจะเป็นสิ่งที่พึ่งทำมากที่สุดครับ เช่นเดียวกับเรื่องของ “ลิขสิทธิ์” ที่มีการคุ้มครองทางกฏหมาย วันนี้เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านไปพบกับ “กฏหมายเกี่ยว ลิขสิทธิ์ที่คุณควรรู้” กันสักหน่อยครับผม

ลิขสิทธิ์คืออะไร?

ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มอบสิทธิทางกฎหมายที่มอบให้ผู้สร้างสรรค์งานแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานที่สร้างสรรค์ โดยทั่วไปแล้ว งานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นงานสร้างสรรค์ทางปัญญาทุกรูปแบบ เช่น งานเขียน งานดนตรี งานนาฏศิลป์ งานศิลปะ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น[1] เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถมอบสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นได้ โดยอาจจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ เช่น สิทธิ์การตีพิมพ์ สิทธิ์การแปล สิทธิ์การดัดแปลง เป็นต้น ลิขสิทธิ์มีระยะเวลาจำกัด ระยะเวลาของลิขสิทธิ์โดยทั่วไปคือเริ่มตั้งแต่การสร้างสรรค์งาน และสิ้นสุด 50 ถึง 100 ปีหลังจากผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละเขตอำนาจ ลิขสิทธิ์ถูกจำกัดโดยข้อจำกัดและข้อยกเว้นของกฎหมายลิขสิทธิ์ เช่น การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ

กฏหมายเกี่ยว ลิขสิทธิ์

สำหรับประเทศไทยนั้น การคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทยจะกำหนดให้มีอายุการคุ้มครอง 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ผลงานเสียชีวิต กรณีเจ้าของเป็นนิติบุคคล จะเริ่มนับอายุตั้งแต่ผลงานถูกสร้างขึ้นมานับไปอีก 50 ปี หรือเริ่มนับเมื่อมีการโฆษณาเป็นครั้งแรก แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะเกิดทีหลัง แต่การโฆษณาครั้งแรกนั้นจะต้องเกิดขึ้นภายใน 50 ปี นับตั้งแต่มีการสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นมา ถ้าพ้น 50 ปีไปแล้วโดยที่ยังไม่ได้มีการโฆษณา ถือว่าลิขสิทธิ์หมดอายุ

กฎหมาย ที่เกี่ยวเนื่องกับลิขสิทธิ์ได้ประกาศใช้ไว้

●พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521
●พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
●พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
●พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558

การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นอย่างไร?

กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดพฤติกรรมใดว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่นไว้ชัดเจน ได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานต่อสาธารณชน ซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ส่วนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นได้เพิ่มการกระทำละเมิดอีกอย่างหนึ่งไว้ คือ การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน หากผู้ใดกระทำการดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงานด้วย หากผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำการต่อไปนี้แก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ได้แก่

–          ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน

–          แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

–          นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

การละเมิดนำงานลิขสิทธิ์ไปหากำไรโดยรู้หรือมีเหตุควรรู้ได้ จะใช้ลงโทษ เจ้าของร้านค้า ผู้จัดการ ลูกจ้างที่รู้ชัดหรือมีเหตุควรรู้ว่า กำลังขาย เผยแพร่ นำเข้า งานอันมีลิขสิทธิ์ ดังนั้น ร้านค้าใดขายแผ่นซีดีเพลงหรือภาพยนตร์ หนังสือ ซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ที่ต้องรับโทษในคดีประเภทนี้ คือ เจ้าของร้าน ผู้จัดการ ลูกจ้างขายของ นั้นเองครับ

โอ้โหการทำผิดกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องของ “ลิขสิทธิ์” เป็นอะไรที่ใกล้ตัวเป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้ครับ ดังนั้นแล้วจะทำอะไรกันก็ต้องสังเกตกันดูดีๆ และเช็คประวัติหรือเรื่องของลิขสิทธิ์กันเอาไว้ด้วยนะครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ “กฏหมายเกี่ยว ลิขสิทธิ์ที่คุณควรรู้” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นแนวทางที่ดีและเหมาะสมที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของลิขสิทธิ์กันมากขึ้นไม่มากก็น้อยกันนะครับผม

Aubree Mcdonalid

Back to top