3 เหตุการณ์การฟ้องลิขสิทธิ์มูลค่ามหาศาล

เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว ผลที่ตามมาคือการดำเนินคดีฟ้องร้องมากมายที่อาจทำให้คุณเสียงเงินมูลค่ามหาศาลได้ด้วยเช่นกันนะครับ บทความนี้จึงอยากพาท่านไปดูตัวอย่าง “3 เหตุการณ์การฟ้องลิขสิทธิ์มูลค่ามหาศาล” ที่มีการดำเนินคดี ขึ้นโรงขึ้นศาลกันยกใหญ่เลยก็ว่าได้ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปลุยกันเล้ยยย!!

บุกจับสินค้าแบรนด์เนมย่านบางรัก มูลค่า 10 ล้าน

เป็นข่าวใหญ่ที่ทาง บช.น. บุกจับกุมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ย่านบางรัก ยึดสินค้าแบรนด์เนมชื่อดัง 5,000 รายการ มูลค่า 10 ล้านบาท ผู้ต้องหาสารภาพแอบลักลอบจำหน่ายมาแล้ว 8 เดือน ที่มีการปลอมรองเท้าชื่อดังเป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายให้กับแบรนด์รองเท้าอย่างมหาศาลเลยหล่ะครับ

ศาลฎีกาตัดสิน “อุลตร้าแมน” 9 เรื่องเป็นลิขสิทธิ์ญี่ปุ่น

เป็นอีกหนึ่งข้อพิพาทที่มีมาอย่างยาวนานซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีคำสั่งไม่รับฎีกา ยึดตามคำพิพากษาเดิมของศาลอุทธรณ์ให้ภาพยนตร์ “อุลตร้าแมน” จำนวน 9 เรื่องตกเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทซึบูราญ่าฯ ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอันจบ

เหตุการณ์ฟ้องร้องขอบริษัท Nintendo ต่อร้านค้าเถื่อนจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เครื่อง Nintendo Switch

โดยทางทีมกฎหมายของ Nintendo ในสหรัฐอเมริกา ได้ยื่นฟ้องเพื่อดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดซอฟต์แวร์ของ Nintendo Switch พร้อมกัน 2 ราย รายแรกมีการดำเนินคดีที่ศาลของรัฐโอไฮโอ โดยกล่าวหาเจ้าของเว็บไซต์ UberChips และอีกคดีมีการฟ้องร้องที่เมืองซีแอตเทิล ทั้ง 2 คดีถูกฟ้องร้องในข้อหาเดียวกัน คือ ปล่อยให้มีการจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่มาจากกลุ่มแฮกเกอร์ Team Xecuter Nintendo ระบุว่า ผู้ถูกฟ้องมีการจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่สามารถปิดระบบป้องกันของ Nintendo Switch จากระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเล่นวิดีโอเกมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้พวกเขาต้องจำคุกและชดใช้ค่าเสียหายมหาศาล

3 ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของ ลิขสิทธิ์

เราสามารถจดลิขสิทธิ์ที่ไหน

หากคุณอยู่ต่างจังหวัด สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ที่ พาณิชย์จังหวัด หรือหากอยู่กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สามารถจดทะเบียนได้ที่ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ผมเคยเขียนบทความแนะนำกรมทรัพย์สินทางปัญญาเอาไว้ เพื่อทุกท่านจะแวะไปยื่นเอกสาร แถวนั้นมีร้านอร่อยๆ มากมายให้แวะไปลองทาน

●สิ่งใดบ้างที่จดลิขสิทธิ์ไม่ได้

เราได้รู้สิ่งที่จดลิขสิทธิ์ได้ หรือจะเรียกให้ถูกคือ ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ไปแล้ว ต่อไปเป็นตัวอย่างสิ่งที่จดไม่ได้ หรือไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่
1. แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ เพราะเราถือว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ มีอยู่แล้ว เราเป็นแค่เพียงผู้ค้นพบ ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์
2. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร นั่นคือความจริงที่เกิดขึ้น เรามีสิทธิในการเสนอข่าวสารนั้น แต่สคริปหรือบทวิเคราะห์ข่าง ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์นะครับ
3. รัฐธรรมนูญและกฎหมาย แน่นอนว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายได้ แม้มันจะมีลักษณะคล้ายงานวรรณกรรมก็ตาม
4. เอกสารของทางราชการหรือหน่วยงานท้องถิ่น เช่น ประกาศกรม หรือแบบพิมพ์ ลข.01 ก็ตาม
5. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัยและรายงานทางราชการ
6. คำแปลและการรวบรวมข้อมูลในขั้อ 1-5 ที่หน่วยงานของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

ขั้นตอนการดำเนินการจดลิขสิทธิ์ด้วยตัวเอง

–          สมัครระบบยืนยันตัวตนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยสมัคร username และ password

–          กรอกข้อมูล เพื่อสมัครในเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตามลิ้งการกรอกข้อมูลและระบุรายละเอียดต่างๆ เข้าสู่เว็บไซต์ http://www.ipthailand.go.th/th/ ทำการเข้าสู่ระบบ Single Sign-on กดเลือกประเภทการจดทะเบียน/แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ จะเปิดหน้าเว็บไซต์ copyright.ipthailand.go.th

–          ส่งเอกสารยืนยันตัวตนผ่านทาง อีเมล

–          ยืนยันตัวตนผ่าน VDO call

–          ส่งเอกสารฉบับจริงทางไปรษณีย์

เป็นอย่างไรบ้างครับ แต่ละเหตุการณ์นั้นสามารถสร้างความเสียหายให้กับเจ้าของได้หลายล้านบาทเลยหล่ะครับ หวังว่าเมื่อท่านอ่านกันแล้วจะเข้าใจและระมัดระวังกันมากขึ้นนะครับ

Aubree Mcdonalid

Back to top