ทำความเข้าใจคำว่า “ลิขสิทธิ์” ก่อนจะละเมิดมันแบบไม่รู้ตัว!

หากว่ากันด้วยเรื่องของสิทธิต่างๆ ของคนเราแล้วนั้น มีหลากสิ่งที่ต้องให้ความเคารพและความเข้าใจกันอย่างมากก็ว่าได้ครับ ซึ่งเรื่องของ “ลิขสิทธิ์” ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกๆ คนต่างต้องรักษาผลประโยชน์ของตนเองเอาไว้เช่นกัน วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไป “ทำความเข้าใจคำว่า “ลิขสิทธิ์” ก่อนจะละเมิดมันแบบไม่รู้ตัว!” กันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น… เราไปชมกันเล้ยย!!!

คำว่า “ลิขสิทธิ์” คืออะไร?

ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่ง ซึ่งต่างจากเครื่องหมายการค้าที่ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นใช้ชื่อแบรนด์ คำขวัญ โลโก้ และตัวระบุแหล่งที่มาอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งๆ นอกจากนี้ยังต่างจากกฎหมายสิทธิบัตรที่ให้การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ด้วย

แล้วลิขสิทธิ์กับความเป็นส่วนตัวแตกต่างกันหรือไม่?

ในปัจจุบันมีกฏหมายคุ้มครองเกี่ยวกับ “ความเป็นส่วนตัวหรือที่เราเรียกกันว่า PDPA” ซึ่งการที่ตัวคุณปรากฏในวิดีโอ รูปภาพ หรือเสียงที่บันทึกไว้ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของสิ่งนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เพื่อนของคุณถ่ายรูปคุณ เพื่อนจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของรูปที่ถ่าย หากเพื่อนหรือบุคคลอื่นอัปโหลดวิดีโอหรือรูปภาพที่มีตัวคุณปรากฏอยู่ หรือไฟล์บันทึกเสียงของคุณโดยที่คุณไม่อนุญาต และคุณรู้สึกว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือความปลอดภัย คุณอาจต้องการยื่นการร้องเรียนเรื่องความเป็นส่วนตัว

ว่ากันด้วยเรื่องของกฏหมายเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายที่ กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

ซึ่งงานด้านวรรณกรรมที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง ได้แก่ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ รวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การคุ้มครองงานสร้างสรรค์เหล่านี้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อสร้างขึ้นโดยไม่มีขั้นตอนทางกฎหมายใดๆและไม่จำต้องมีการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนก่อน จึงหมายความว่า เมื่อท่านสร้างสรรค์งานหรือเขียนงานนิพนธ์ขึ้นชิ้นหนึ่ง กฎหมายให้ความคุ้มครองงานชิ้นนั้นทันที เจ้าของผลงานเท่านั้นมีสิทธิ์ในการเผยแพร่งานสู่สาธารณชน เว้นแต่ได้รับความยินยอมหรืออนุญาตจากเจ้าของ หาผู้ใดทำละเมิดนำงานไปเผยแพร่ คัดลอก ดัดแปลง ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด จักต้องรับโทษอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งแก่ผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนั้น ส่วนการจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ที่กระทำกับกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น มิใช่การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ แต่เป็นการเผยแพร่ชื่องานลิขสิทธิ์ของตนแก่บุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ในการค้นหา ติดต่อ กับเจ้าของชิ้นงาน อันเป็นความช่วยเหลือของทางการในการเป็นแหล่งข้อมูลแก่เอกชนที่สันใจใช้ประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์

ขอบเขตคุ้มครอง“ลิขสิทธิ์”

เมื่อได้สร้างผลงานใหม่ๆ แล้วได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ จึงต้องรับรู้สิทธิของผู้เป็นเจ้าของว่ามีขอบเขตคุ้มครองกว้างขวางมากเพียงใด โดยกฎหมายกำหนดสิทธิไว้ดังต่อไปนี้

●ห้ามทำซ้ำหรือดัดแปลง

●หากเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ถูกต้องจะผิดทางกฏหมาย

●ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

●ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

●อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

ทั้งนี้เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวมีอำนาจกระทำทั้ง 5 ข้อนี้ ผู้ใดที่ทำละเมิดสิทธิของเจ้าของงานซึ่งกฎหมายคุ้มครองไว้ จักต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายทางแพ่งแก่ กรมการคุ้มครองสิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานใหม่

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ “ทำความเข้าใจคำว่า “ลิขสิทธิ์” ก่อนจะละเมิดมันแบบไม่รู้ตัว!” ที่เราได้หาข้อมูลมาฝากทุกๆ ท่านให้ได้อ่านกันในข้างต้น หวังว่าจะเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ

Aubree Mcdonalid

Back to top