ลิขสิทธิ์เพลงเป็นอย่างไร?

ว่ากันด้วยเรื่องของ “ลิขสิทธิ์” แล้วนั้น หลายๆ ท่านก็คงจะคิดถึงเรื่องเพลง ภาพหรือหันงต่างๆ ที่มีการจดลิขสิทธิ์เอาไว้เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบจากผู้อื่นที่คิดจตะแสวงหาผลกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ “ลิขสิทธิ์เพลง” เป็นอะไรที่ต้องระวังเป็นอย่างมากเลย เพียงแค่เปิดในร้านอาหารของตนเองก็อาจจะถูกแจ้งจับได้เลยหล่ะครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “ลิขสิทธิ์เพลงเป็นอย่างไร?” นั้นเป็นอย่างไรและต้องระวังอะไรบ้าง

ความหมายของคำว่า ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มอบสิทธิทางกฎหมายที่มอบให้ผู้สร้างสรรค์งานแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานที่สร้างสรรค์ โดยทั่วไปแล้ว งานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นงานสร้างสรรค์ทางปัญญาทุกรูปแบบ เช่น งานเขียน งานดนตรี งานนาฏศิลป์ งานศิลปะ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น[1] เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถมอบสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นได้ โดยอาจจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้

แล้ว ลิขสิทธิ์เพลง คืออะไร?

ลิขสิทธิ์เพลง นับเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการที่สร้างสรรค์ผลงานชิ้นหนึ่งขึ้นมา โดยที่ไม่ได้ลอกเลียนงานสร้างสรรค์ของผู้อื่น จึงถือว่าเป็นทรัพย์สิน ทางปัญญาอีกประเภทหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยลิขสิทธิ์จะให้สิทธิ์แก่เจ้าของแต่เพียงผู้เดียว โดยมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ ที่เกี่ยวกับงานเพลงที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น… ทำเพลงซ้ำหรือดัดแปลง ,อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิเพลงได้, ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ผู้อื่น, นำมาสตรีมหรือเผยแพร่เพลงต่อสาธารณะหรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานเพลงให้บุคคลอื่น

ความคุ้มครองลิขสิทธิ์เพลง

เราสามารถยกตัวอย่างการคุ้มครองผู้ถือครองลิขสิทธิ์ โดยแบ่งความคุ้มครองได้ดังนี้

●ลิขสิทธิ์ในคำร้อง/เนื้อเพลง (Lyric) หมายถึง คนแต่งเนื้อร้อง จะได้ลิขสิทธิ์ในฐานะงานวรรณกรรม
●ลิขสิทธิ์ในทำนอง (Melody) หมายถึง คนแต่งทำนอง จะได้ลิขสิทธิ์ในฐานะงานดนตรีกรรม
●ลิขสิทธิ์ในการเรียบเรียงเสียงประสาน (Arranging) หมายถึง คนเรียบเรียงเสียงประสาน จะได้ลิขสิทธิ์ในฐานะงานวรรณกรรม
●ลิขสิทธิ์ในการบันทึกเสียง (Sound Recording) หมายถึง คนที่บันทึกเพลง จะได้ลิขสิทธิ์ในฐานะ งานโสตทศันวัสดุหรือสิ่งบันทึกเสียง

ความผิดกรณี “นำเพลงไปร้อง” จะโดนอะไรบ้าง?

เรามักจะเห็นตามร้านอาหาร สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใดนำเพลงไปร้อง โดยไม่ได้รับอนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมถึงการ Cover ลงโซเชียลต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการนำผลงาน ที่มีลิขสิทธิ์ไปขับร้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ให้กับตัวเองไม่ว่าผู้กระทำจะเป็นดารา นักแสดง นักร้อง หรือประชาชนทั่วไป

• มีความผิด “ตามมาตรา 27” การทำซ้ำหรือดัดแปลงงาน อันมีลิขสิทธิ์ หรือนำงานอันมีลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

• มีความผิด “ตามมาตรา 28” เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แก่โสตทัศนวัสดุภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

• มีความผิด “ตามมาตรา 29” เป็นกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์แก่งานแพร่ภาพแพร่เสียง เช่น แพร่ภาพแพร่เสียงซ้ำ หรือจัดให้ประชาชนชม โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อื่นทางการค้า ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากกระทำเพื่อการค้า จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 69)

แล้วแค่เปิดเพลงมีลิขสิทธิ์จะโดนอะไรมั้ย?

ความผิดกรณี “เปิดเพลง” “ตามร้านอาหาร ร้านกาแฟ สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์” ไม่ว่าจากสื่อใด ๆ เช่น  Youtube CD หรือ DVD

• มีความผิด “ตามมาตรา 31” ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน เพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากกระทำเพื่อการค้าจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 70)

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ลิขสิทธิ์เพลงเป็นอย่างไร?” ที่พวกเราได้รวบรวมาให้ทุกๆ ท่านอ่านด้วยความเข้าใจ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกันนะครับ

Aubree Mcdonalid

Back to top