เราจะจดลิขสิทธิ์อย่างไรได้บ้าง?

หลายๆ ครั้งที่เรามักจะประสบปัญหาโดยขโมยหรือลอกงานกันมาบ้างใช่มั้ยหล่ะครับ เพราะด้วยเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เกิดการ copy paste ได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ได้อ่านหรือแก้ไขอะไร หรือไม่ก็จะบอกกล่าวว่าเป็นแรงบรรดาลใจแบบที่เป้ะไปทุกส่วนก็มีเช่นกันครับ วันนี้เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง “ลิขสิทธิ์” ไปหาคำตอบเกี่ยวกับ “เราจะจดลิขสิทธิ์อย่างไรได้บ้าง?” กันครับ จะเป็นอย่างไรและทำแบบไหนบ้างนั้น…เราไปดูกันดีกว่าครับ

การจดลิขสิทธิ์คืออะไรและจะให้ความคุ้มครองประมาณไหนกัน?

ลิขสิทธิ์ คือ งานสร้างสรรค์ จะสังเกตุได้ว่า งาน ลิขสิทธิ์ สร้างมาเพื่อ ความรู้ ความบันเทิง ความสวยงาม และ ชื่นชมในคุณค่าของตัวงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งที่ต้องจดลิขสิทธิ์ก็เพราะเพื่อต้องการคุ้มครองงานสร้างสรรค์ของตนเองให้ซึ่งถือว่ามีส่วนสนับสนุนความสำเร็จด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ และ ป้องกันการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานไปใช้ โดยที่ทำให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้สร้างสรรค์เกินควร โดยลิขสิทธิ์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง อันได้แก่…วรรณกรรม งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

ขั้นตอนการจดลิขสิทธิ์

การยื่นจดแจ้งลิขสิทธิ์ หลังจากยื่นแล้วนายทะเบียนจะพิจารณาอนุมัติ ประมาณ 1 เดือน โดยมีข้อมูลต้องเตรียมดังนี้

●ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ อีเมล ผู้ขอจดแจ้ง
●ชื่อผลงาน เช่น โดเรมอน

●รายละเอียดผลงาน

●วรรณกรรม เช่น หนังสือ ใช้หน้าปก สารบัญ 5 หน้าแรก และ 5 หน้าสุดท้าย บทสรุปผลงานทั้งหมดประมาณครึ่งหน้า

●นาฏกรรม เช่นหนังสือเกี่ยวกับ การรำ ใช้หน้าปก สารบัญ 5 หน้าแรก และ 5 หน้าสุดท้าย บทสรุปผลงานทั้งหมดประมาณครึ่งหน้า

●ศิลปกรรม

●งานจิตรกรรม ใช้ภาพวาด เน้นความสวยงามของภาพ เช่น การ์ตูน ภาพทิวทิศน์

●งานประติมากรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและจับต้องได้ ใช้ภาพ 7 มุม หน้า หลัง ซ้าย ขวา บน ล่าง

●งานภาพพิมพ์ ใช้ภาพพิมพ์ เน้น รูปแบบภาพ เช่น ลวดลายซอง ลวดลายกล่องสินค้า ภาพหน้าปกหนังสือ

●งานสถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ใช้เอกสารแบบแปลน พิมพ์เขียว

●งานภาพถ่าย ใช้ภาพถ่าย เช่น ภาพถ่ายวัด ภาพถ่ายสินค้า แนวๆ ภาพที่จำหน่ายใน shutter stock

●งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่างหรืองานสร้างสรรค์ รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับ ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ ใช้เอกสารพิมพ์เขียว

●งานศิลปประยุกต์ ได้แก่ งานที่นำเอางานตาม (๑) ถึง (๖) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงาน ภาพ 1-6 ที่ปรากฏที่สินค้า เข่น ภาพกล่องขนมที่ปรากฏภาพถ่ายวัดพระแก้ว เป็นต้น

●ดนตรีกรรม หมายความว่า ใช้ เนื้อร้อง ทำนอง รวมกัน หรือ แยกกันจดแจ้งได้

●โสตทัศนวัสดุ หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด ใช้การบันทึกลงในวัสดุประกอบลำดับภาพ (ไม่ค่อยนิยมนำมายื่น)

●ภาพยนตร์” หมายความว่า ใช้การบันทึกลงในวัสดุประกอบการเคลื่อนไหวทั้งภาพและเสียง

●สิ่งบันทึกเสียง” หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของดนตรี เสียง การแสดงหรือเสียงอื่นใด ใช้การบันทึกลงในวัสดุบันทึกเสียง เช่น เสียงโฆษณา เป็นต้น

เอกสารการจดลิขสิทธิ์

หนังสือมอบอำนาจ และ แบบฟอร์มการรับรองการสร้างสรรค์

กรณีบริษัท : รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงออกไม่เกิน 6 เดือน และ สำเนาบัตรกรรมการ

กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ประชาชน

จดแจ้งงานอันมีลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 กำหนด ได้แก่

งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)

งานนาฎกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)

งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)

งานดนตรีกรรม (ทำนอง , ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)

งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี )

งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)

งานภาพยนตร์

งานแพร่เสียงแพร่ภาพ

งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

โอ้โหวมีเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอลิขสิทธิ์มากมายเลยใช่มั้ยหล่ะครับ แต่จริงๆ แล้วจะมีบริษัทรับดำเนินการจดขอลิขสิทธิ์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกโดยเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับท่านด้วยเช่นกันครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “เราจะจดลิขสิทธิ์อย่างไรได้บ้าง?” ที่ได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในข้างต้นนี้ หวังว่าจะชอบและเป็นประโยชน์กันนะครับ

Aubree Mcdonalid

Back to top