Category: Music

กฏหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง

คงเคยมีหลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยินหรืออ่านข่าวเกี่ยวกับการลูกจับปรับเพราะทางร้านหรือนักร้อง เปิดเพลงร้องเพลงที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตกันใช่มั้ยหล่ะครับ… ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยหากคุณเป็นคนทำธุรกิจร้านอาหารก็อาจจะต้องประสบพบเจอกันมาบ้างอย่างแน่นอนครับ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “กฏหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง” ว่าเราต้องระวังอะไรบ้าง ต้องรู้สิ่งไหนถึงจะไม่ผิดกฏหมายกันนั้นเองครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปดูกันดีกว่าครับ ลิขสิทธิ์ คืออะไร ? ลิขสิทธิ์เป็น ผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สิน ทางปัญญาประเภทหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 “ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ดังต่อไปนี้ – ทำซ้ำหรือดัดแปลง – เผยแพร่ต่อสาธารณชน – ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน – ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ผู้อื่น – อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ทางกฏหมาย หมายถึงอะไร?…

สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง

เพลงเพราะๆ ใครๆ ก็อยากร้องอยากนำมาเปิดตามสถานการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ หรือไม่ก็โพสลงโซเชียลเพื่อแชร์ความบันเทิงในการฟังเพลงให้กับทุกๆ คนได้รับรู้ ซึ่งหากใช้ในกิจกรรมที่ไม่ใช่ในเชิงพาณิชย์แล้วหล่ะก็…คงไม่ต้องห่วงเรื่องของลิขสิทธิ์เพลงกันอย่างแน่นอนครับ บทความนี้จะขอชวนทุกๆ ท่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ “ลิขสิทธิ์เพลง” ที่เราต้องระมัดระวังในการใช้เพลงหรือทำ cover เพลงเหล่านั้นกันครับ ว่ากันด้วยเรื่องของลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์คืออะไร? ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์ กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งยกตัวอย่างได้ดังนี้ ●งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ●งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ…

เปิดเพลงในสถานประกอบการอย่างไรไม่ให้ผิดลิขสิทธิ์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่ช่วยให้บรรยากาศในร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านผับ บาร์ มีบรรยากาศได้นั้นคือ “ดนตรี” ที่เปิดภายในร้าน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถดึงดูดลูกค้าได้อย่างไรก็ตามเพลงที่ทางค่ายเพลงได้ปล่อยออกมานั้นก็ล้วนแล้วแต่มีลิขสิทธิ์ ข้อกำหนดที่เจ้าของร้านควรรู้ไว้ด้วยเช่นกัน เพราะหากเปิดโดยที่เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์โดยที่ทางต้นสังกัดยังไม่ได้อนุญาตนั้นย่อมอาจเกิดปัญหาฟ้องร้องเป็นคดีความขึ้นได้ดังนั้นในบทความชิ้นนี้จึงนำเสนอวิธีการเปิดเพลงในร้านหรือสถานประกอบการอย่างถูกวิธี 5 ข้อ ดังนี้           1. ใช้เพลงที่ศิลปินหรือค่ายเพลงอนุญาตให้ใช้ซึ่งมีศิลปินบางรายหรือบางค่ายเพลงประกาศออกมาแล้วว่า ให้ผู้ประกอบการนำเพลงไปเปิดในร้านเลย โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ เช่น T-bone, Byrd & Heart, ค่าย Summer Disc Music Label หรือค่าย Banana Record Thailand เป็นต้น หรือไม่ก็เปิดเพลงรุ่นเก่ามากๆ ที่หมดลิขสิทธิ์ไปแล้ว เช่น เพลงแจ๊สเก่า (ซึ่งอาจจะเหมาะกับร้านที่มีโทนแต่งร้านแบบย้อนยุค เป็นต้น) เพลงเหล่านี้สามารถนำมาสร้าง…

เครื่องดนตรีล้านนา 2 ชนิดที่มีเสน่ห์ไม่แพ้เครื่องดนตรีสมัยใหม่

เครื่องดนตรีล้านนาเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมที่สวยงามของทางภาคเหนือ ซึ่งการเล่นเครื่องดนตรีล้านนาส่วนใหญ่จะบรรเลงประกอบการแสดงต่าง ๆ หรือ ตามงานเทศกาลของชาวล้านนา ไม่ว่าจะเป็น งานขันโตก และ งานอื่น ๆ โดยปกติเครื่องดนตรีล้านนาเป็นเครื่องดนตรีที่ประกอบขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน มีลักษณะเรียบง่ายและประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติหรือไม่ก็เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เครื่องดนตรีล้านนา เป็นอีกหนึ่งเครื่องดนตรีที่มีความโดดเด่น และ มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ วันนี้เราเลยขอหยิบเครื่องดนตรีล้านนา 2 ชนิดที่เรียกได้ว่าทั้งเสียงเพราะ และ มีเสน่ห์ไม่แพ้เครื่องดนตรีสมัยใหม่เลยค่ะ ซึง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ที่มีลักษณะคล้ายพิณ หรือ หากเทียบกับเครื่องดนตรีสมัยใหม่ก็มีลักษณะรูปร่างที่คล้ายกับกีตาร์ และ เบส แต่มีวิธีเล่นโดยการดีด ซึงจะแบ่งเป็นคู่สายบนและคู่สายล่าง มี 4 สาย คู่สายล่าง 2 สาย คู่สายบน 2 สาย การเล่นจะถือแนบหน้าอกด้วยมือซ้าย…

“City Pop” แนวเพลงญี่ปุ่นยุค 80’s ที่ยังคงสร้างสีสันให้กับดนตรีในปัจจุบัน

มีหลายคนที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการย้อนกลับไปหาความทรงจำเก่าๆนั้นเป็นการสร้างความสุขอย่างหนึ่งให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเก่าที่โอบอุ้มความทรงจำของแต่ละบุคคลไว้อย่างมากมาย รวมทั้งเสียงเพลงซึ่งเป็นอีกอย่างที่ทำให้คนที่ได้ยินได้นึกย้อนกลับไปหาความทรงจำของตนได้อย่างชัดเจน “City Pop” เองก็เป็นแนวเพลงหนึ่งที่จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงกลิ่นอายของความเก่าที่สื่อออกมาผ่านเสียงเพลงได้เป็นอย่างดี          แนวเพลง City Pop เริ่มเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังฟื้นฟูตนเองและก้าวเข้าสู่ยุคอะนาล็อก กระแสวัฒนธรรมทางฝั่งตะวันตกเองก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งรวมถึงทางด้านดนตรีด้วยเช่นเดียวกัน เช่น แจ๊ส หรือ โซล ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างกันขึ้นจนเกิดมาเป็น City Pop อันเปรียบได้กับตัวแทนการใช้ชีวิตของคนในประเทศญี่ปุ่นยุคนั้นที่กำลังก้าวเข้าสู่ความเจริญก้าวหน้าและมุ่งไปสู่อนาคตที่มีแต่ความสดใส ดนตรีของแนวเพลงนี้ขาดไม่ได้เลยคือเครื่องซินธิไซเซอร์แบบอะนาล็อก โดยต้องจิ้มสายไปลงไปในแต่ละช่องและผสมเสียงออกมาเองเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ เครื่องนี้ทำให้เพลง City Pop มีเอกลักษณ์ของตนเองในแต่ละเพลง และทำให้เสียงวิ้งๆ ในเพลงนั้นกลายเป็นเอกลักษณ์ของแนวเพลงนี้อีกด้วย หน้าปกอัลบั้มของเพลงแนว City Pop มักจะมีสีสันที่สดใส มองแล้วดูร่าเริง อาจใช้เป็นสีพาสเทลหรือสีสด แต่โดยรวมแล้วคือสื่อออกมาให้เห็นถึงความสดใสร่าเริง ในส่วนของศิลปินที่มีชื่อเสียงของแนวเพลง City Pop…

Back to top