กฏหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง

คงเคยมีหลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยินหรืออ่านข่าวเกี่ยวกับการลูกจับปรับเพราะทางร้านหรือนักร้อง เปิดเพลงร้องเพลงที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตกันใช่มั้ยหล่ะครับ… ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยหากคุณเป็นคนทำธุรกิจร้านอาหารก็อาจจะต้องประสบพบเจอกันมาบ้างอย่างแน่นอนครับ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “กฏหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง” ว่าเราต้องระวังอะไรบ้าง ต้องรู้สิ่งไหนถึงจะไม่ผิดกฏหมายกันนั้นเองครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปดูกันดีกว่าครับ

ลิขสิทธิ์ คืออะไร ?

ลิขสิทธิ์เป็น ผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สิน ทางปัญญาประเภทหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 “ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ดังต่อไปนี้

– ทำซ้ำหรือดัดแปลง

– เผยแพร่ต่อสาธารณชน

– ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน

– ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ผู้อื่น

– อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์

เจ้าของลิขสิทธิ์ทางกฏหมาย หมายถึงอะไร?

“เจ้าของลิขสิทธิ์” คือ ผู้ที่สามารถทำอะไรกับผลงานก็ได้ จะยกให้ใครก็ได้แต่ “ศิลปิน” ไม่มีสิทธิ์ที่จะนำเพลงที่ขับร้องไปใช้ถ้าไม่ได้รับอนุญาตเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวหากผู้ใดนำไปใช้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตนับว่ามีความผิด

ลิขสิทธิ์ในเพลงมีอะไรบ้าง?

ดนตรีมีความโดดเด่นตรงที่ทุกแทร็กมีลิขสิทธิ์สองรายการ หนึ่งในนั้นถือเป็นลิขสิทธิ์ของเพลงนั่นคือการแต่งเพลงซึ่งประกอบด้วยเนื้อเพลงและเพลงประกอบ (จังหวะการบรรเลง) อีกอันถือเป็นลิขสิทธิ์ในการบันทึกเสียงหรือ “การทำมาสเตอร์” นั้นเอง

ความผิดกรณี “นำเพลงไปร้อง”

“ตามร้านอาหาร สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมถึงการ Cover ลงโซเชียลต่าง ๆ” เป็นการนำผลงาน ที่มีลิขสิทธิ์ไปขับร้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ให้กับตัวเองไม่ว่าผู้กระทำจะเป็นดารา นักแสดง นักร้อง หรือประชาชนทั่วไป

●โดยความผิด “ตามมาตรา 27” กล่าวไว้ว่า “การทำซ้ำหรือดัดแปลงงาน อันมีลิขสิทธิ์ หรือนำงานอันมีลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์”

●โดยความผิด“ตามมาตรา 28” คือ การละเมิดลิขสิทธิ์แก่โสตทัศนวัสดุภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

●โดยความผิด “ตามมาตรา 29” เป็นกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์แก่งานแพร่ภาพแพร่เสียง เช่น แพร่ภาพแพร่เสียงซ้ำ หรือจัดให้ประชาชนชม โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อื่นทางการค้า ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากกระทำเพื่อการค้า จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตราที่ 69

ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และมีคุ้มครองนานแค่ไหน?

ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นของ “ผู้เขียน” ของงานซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นผู้สร้างสรรค์ต้นฉบับ สำหรับผลงานทั้งหมดที่สร้างขึ้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 1978 การคุ้มครองลิขสิทธิ์จะมีผลตลอดชีวิตของผู้เขียนและครอบคลุมไปอีกเจ็ดสิบปีหลังจากที่ผู้เขียนเสียชีวิต วิธีนี้อนุญาตให้ทายาทของเจ้าของสร้างรายได้จากผลงานนอกเหนือจากเจ้าของเดิม

การละเมิดลิขสิทธิ์

หากเจ้าของลิขสิทธิ์เชื่อว่าผลงานที่ได้รับการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่งของตนถูกละเมิดโดยบุคคลอื่นบุคคลอื่นอาจต้องรับผิดต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์จะแสดงโดยเจ้าของที่พิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องในงานที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์และการคัดลอกที่ดำเนินการได้โดยฝ่ายที่ละเมิดลิขสิทธิ์ขององค์ประกอบดั้งเดิมและองค์ประกอบที่สำคัญของงาน

และนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับ “กฏหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความนี้ เราหวังว่าจะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจมากขึ้นนะครับ หวังว่าทุกๆ ท่านจะชอบและใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการผิดลิขสิทธิ์กันนะครับ

Aubree Mcdonalid

Back to top