สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง

เพลงเพราะๆ ใครๆ ก็อยากร้องอยากนำมาเปิดตามสถานการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ หรือไม่ก็โพสลงโซเชียลเพื่อแชร์ความบันเทิงในการฟังเพลงให้กับทุกๆ คนได้รับรู้ ซึ่งหากใช้ในกิจกรรมที่ไม่ใช่ในเชิงพาณิชย์แล้วหล่ะก็…คงไม่ต้องห่วงเรื่องของลิขสิทธิ์เพลงกันอย่างแน่นอนครับ บทความนี้จะขอชวนทุกๆ ท่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ “ลิขสิทธิ์เพลง” ที่เราต้องระมัดระวังในการใช้เพลงหรือทำ cover เพลงเหล่านั้นกันครับ

ว่ากันด้วยเรื่องของลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์คืออะไร? ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งยกตัวอย่างได้ดังนี้

งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์

งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย

งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย

งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว

งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น

●งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)

●งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์

แล้วผลลงานแบบไหนที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์?

– ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จำนวนคน ปริมาณ เป็นต้น

– รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย

– ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

– คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

–  คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 – 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

– ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง

สิ่งที่ต้องควรระวังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ความผิด ซึ่งได้แก่

ความผิดกรณี “นำเพลงไปร้อง” “ตามร้านอาหาร สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมถึงการ Cover ลงโซเชียลต่าง ๆ” เป็นการนำผลงาน ที่มีลิขสิทธิ์ไปขับร้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ให้กับตัวเองไม่ว่าผู้กระทำจะเป็นดารา นักแสดง นักร้อง หรือประชาชนทั่วไป

มีความผิด

 “ตามมาตรา 27” การทำซ้ำหรือดัดแปลงงาน อันมีลิขสิทธิ์ หรือนำงานอันมีลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์  มีความผิด

“ตามมาตรา 28” เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แก่โสตทัศนวัสดุภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

• มีความผิด “ตามมาตรา 29” เป็นกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์แก่งานแพร่ภาพแพร่เสียง เช่น แพร่ภาพแพร่เสียงซ้ำ หรือจัดให้ประชาชนชม โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อื่นทางการค้า ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากกระทำเพื่อการค้า จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 69)

ความผิดกรณี “เปิดเพลง” ตามร้านอาหาร ร้านกาแฟ สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์” ไม่ว่าจากสื่อใด ๆ เช่น  Youtube CD หรือ DVD

ความผิด “ตามมาตรา 31” ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน เพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากกระทำเพื่อการค้าจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลง” ที่เราต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพื่อป้องกันไม่ให้เสียเงินโดยใช่เหตุครับ

Aubree Mcdonalid

Back to top