เครื่องดนตรีล้านนา 2 ชนิดที่มีเสน่ห์ไม่แพ้เครื่องดนตรีสมัยใหม่

เครื่องดนตรีล้านนาเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมที่สวยงามของทางภาคเหนือ ซึ่งการเล่นเครื่องดนตรีล้านนาส่วนใหญ่จะบรรเลงประกอบการแสดงต่าง ๆ หรือ ตามงานเทศกาลของชาวล้านนา ไม่ว่าจะเป็น งานขันโตก และ งานอื่น ๆ

โดยปกติเครื่องดนตรีล้านนาเป็นเครื่องดนตรีที่ประกอบขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน มีลักษณะเรียบง่ายและประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติหรือไม่ก็เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เครื่องดนตรีล้านนา เป็นอีกหนึ่งเครื่องดนตรีที่มีความโดดเด่น และ มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ วันนี้เราเลยขอหยิบเครื่องดนตรีล้านนา 2 ชนิดที่เรียกได้ว่าทั้งเสียงเพราะ และ มีเสน่ห์ไม่แพ้เครื่องดนตรีสมัยใหม่เลยค่ะ

  1. ซึง

ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ที่มีลักษณะคล้ายพิณ หรือ หากเทียบกับเครื่องดนตรีสมัยใหม่ก็มีลักษณะรูปร่างที่คล้ายกับกีตาร์ และ เบส แต่มีวิธีเล่นโดยการดีด ซึงจะแบ่งเป็นคู่สายบนและคู่สายล่าง มี 4 สาย คู่สายล่าง 2 สาย คู่สายบน 2 สาย การเล่นจะถือแนบหน้าอกด้วยมือซ้าย ส่วนมือขวาถือไม้ดีด ซึ่งเป็นการสร้างเสียงเพลงจากตัวโน้ตตามแบบโน้ตดนตรีสากล คือ โด ถึง ซอล โดยปกติซึงจะมีด้วยกัน 3 ขนาด คือ ซึงเล็ก ซึงกลาง และซึ่งใหญ่ หากใครเคยมาเดินเที่ยวตลาดคนเดินตามภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ หรือ เชียงรายก็คงเคยได้ยินเสียงซึงเพราะ ๆ ช่วยสร้างบรรยากาศกันอย่างแน่นอน โดยซึงนั้นถือเป็นเครื่องดนตรีหลักของวงดนตรีล้านนา เปรียบเสมือนหัวใจของวงดนตรีที่ทำให้วงดนตรีมีชีวิต

  • สะล้อ

สะล้อ หรือ ในบางถิ่นอาจเรียกว่าถะล้อ เป็นเครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชักสีลงบนสายที่ขึงผ่านหน้ากล่องเสียง มีรูปร่างใกล้เคียงกับซออู้ แต่ขนาดเล็กกว่า กล่องเสียงของสะล้อทำด้วยกะลามะพร้าว สะล้อ มีสองประเภทก็คือ สะล้อ 2 สาย และ สะล้อ 3 สาย แต่ที่นิยมเล่นกันคือสะล้อที่มี 2 สาย ส่วนสะล้อ 3 สายนั้นไม่เป็นที่นิยมเพราะเล่นยากกว่า นอกจากใช้สะล้อบรรเลงเดี่ยวแล้ว ยังนิยมใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีพื้นเมืองสะล้อ-ซึง ประกอบการร้องเพลงพื้นถิ่นอย่างการซอ อย่างที่หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินวลีที่ว่า “สะล้อ ซอ ซึง” นั่นเองค่ะ

          เครื่องดนตรีทั้ง 2 ชนิดนี้ของทางภาคเหนือ หรือ ถิ่นล้านนา กลายเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภาคเหนือ ที่กลายมาเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวในเชิงส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งการเล่นเครื่องดนตรีทั้ง 2 ชนิดนี้ต้องขอบอกว่าไม่ยากเลยค่ะ เพราะการเล่นนั้นไม่ซับซ้อนเหมือนเครื่องดนตรีสมัยใหม่ หากใครได้มีโอกาสไปเที่ยวภาคเหนือก็อย่าลืมหาโอกาสไปทดลองเล่นเครื่องดนตรีล้านนา 2 ชนิดนี้นะคะ รับรองว่าจะติดใจในเสียง และ เสน่ห์ของมันอย่างแน่นนอน

Aubree Mcdonalid

Back to top